วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ดอกไม้ในวรรณคดี


“… เที่ยวชมแถวขั้นรุกขชาติ ดอกเกลื่อนดกกลาดหนักหนา
กาหลงกุหลาบกระดังงา การะเกดกรรณิการ์ลำดวน …”
วรรณคดี : “ รามเกียรติ์ ”
ผู้ประพันธ์ : พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

ชื่อพฤกษศาสตร์ : Rosa damascema, Mill.
ชื่อสามัญ : Damask Rose , Persia Rose, Mon Rose
ชื่อวงศ์ : Rosaceae
กุหลาบมอญเป็นไม้ดอกประเภทไม้พุ่มผลัดใบ ลำต้นตั้งตรง กิ่งก้านมีหนาม พุ่มสูงประมาณ ๒ - ๓ เมตร อายุยืน แข็งแรง เป็นไม้ที่ต้องการแสงแดดจัดอย่างน้อยวันละ ๖ ชั่วโมง จึงควรปลูกในที่โล่งแจ้งแต่ควรเป็นที่อับลม ขึ้นได้ในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์พอ ชอบน้ำ แต่ไม่ชอบน้ำขัง ดินจึงต้องระบายน้ำได้ดี ชอบอากาศร้อนในตอนกลางวัน และอากาศเย็นในตอนกลางคืน กุหลาบมอญนี้ถือได้ว่าเป็นกุหลาบพื้นเมืองของไทย
ใบเป็นใบประกอบชนิดขนนก มีหูใบ ๑ คู่ มีใบย่อย ๓ - ๕ ใบ ในก้านช่อใบหนึ่ง ๆ ใบจัดเรียงแบบสลับ ใบมีสีเขียวเข้มเป็นมัน มีรอยย่นเล็กน้อย ขอบใบเป็นจักละเอียด เส้นกลางใบด้านท้องใบมีหนามห่าง ๆ
ดอกมีลักษณะค่อนข้างกลม กลับดอกเรียงซ้อนกันหลายชั้น วนออกนอกเป็นรัศมีโดยรอบ ดอกมีสีชมพูอ่อน สีชมพูเข้ม ดอกมักออกเป็นช่อ ทางปลายกิ่ง กลีบดอกมีลักษณะปลายแหลมเรียว
การขยายพันธ์ใช้วิธีตอนกิ่ง

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

วรรณคดีไทย


บทละครเรื่องเงาะป่านี้ แม้จะมีรูปแบบของกลอนบทละคร แม้ก็มิได้ทรงมีพระประสงค์เพื่อใช้เล่นละครแต่อย่างใด หากแต่ทรงแต่งขึ้นเพื่อเป็นที่ผ่อนคลายและสำราญพระทัย ทรงแต่งแล้วเสร็จเมื่อวันศุกร์ ที่ 2 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2448) (หากนับตามปัจจุบัน เป็น พ.ศ. 2449 แล้ว) แล้วได้แก้ไขอีกบ้างเล็กน้อยเมื่อทรงมีเวลา และได้ทรงพระราชนิพนธ์คำนำ เมื่อวันที่ 14 มีนาคม ในปีเดียวกัน แล้วโปรดฯ ให้ตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2456
ทั้งนี้ได้ทรงบันทึกเวลาที่ทรงพระราชนิพนธ์เอาไว้ท้ายเรื่องดังนี้
พระนิพนธ์เงาะป่าว่าตามเค้า
คนังเล่าแต่งต่อล้อมันเล่น
ใช้ภาษาเงาะป่าว่ายากเย็น
แต่พอเห็นเงื่อนเงาเข้าใจกัน
ทำแปดวันครั้นมาถึงวันศุกร์
สิ้นสนุกไม่มีที่ข้อขัน
วันที่สองของเดือนกุมภาพันธ์
ศกร้อยยี่สิบสี่มั่นจบหมดเอย
div>